Unlearned history (2023)
ใครหลายคนคงได้ยินคำกล่าวที่ว่า “We all learn from history – พวกเราทุกคนเรียนรู้จากประวัติศาสตร์”
แต่ถ้าประวัติศาสตร์บางเรื่องราว ไม่ถูกสอนและถูกบิดเบือนข้อเท็จจริง เราจะเชื่อใจในความจริงที่เราเคยเรียนรู้ได้อย่างไร
นั่นคือที่มาของสาเหตุการเกิดโศกนาฏกรรมซ้ำๆอย่างจงใจจากผู้ที่เขียนประวัติศาสตร์เองหรือเปล่า ?
การซ้อมทรมานถูกค้นพบเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคกลาง (Middle Ages)
แม้ว่าในยุคนั้นทางประวัติศาสตร์จะมีเกิดศาสตร์ต่างๆเชิงสังคม ศิลปะ และการศึกษา
แต่ยุคกลางก็ยังถือว่าเป็นยุคมืดในประวัติศาสตร์ ปรากฏในหลักฐานไม่ว่าจะเป็นภาพวาดหรือตัวอักษร
เช่น “การพิสูจน์ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ”, “ทุกข์ทรมาน 2 ครั้งแบบพระเยซู (เยอรมันนี) จับกดน้ำกับตรึงกางเขนห้อยหัวลง”, “การกรอกน้ำใส่ปาก”, “การฝังทั้งเป็น” ฯลฯ อีกทั้งยุคกลางยังเป็นยุคแห่งการค้นพบและการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ เป็นยุคที่มนุษย์เรียนรู้สิ่งถูกและผิด เป็นการค้นพบเชิงภูมิปัญญา
ถึงอย่างนั้นก็ตาม การพัฒนาจิตใจของมนุษย์ไม่ได้เดินตามไปพร้อมความศิวิไลซ์ของเปลือกนอก แม้ว่าจะมีหลากหลายประเทศที่เจริญแล้ว กล้าหาญที่จะยอมรับ ขอโทษอย่างจริงใจ บรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอนหรือแม้กระทั่งสร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และเพื่อป้องกันไม่ให้ประวัติศาสตร์การลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซ้ำรอยอีกครั้ง แต่ก็ยังมีบางประเทศที่ยังคงไม่ยอมรับ ไม่แม้กระทั่งบรรจุในการเรียนการสอน
“การโตมาด้วยความเชื่อและการถูกครอบงำด้วยชุดข้อมูลเพียงชุดเดียว การได้รับรู้เรื่องราวข้อเท็จจริงตอนโต เหมือนเป็นการถูกหักหลังจากสิ่งที่เราเคยเชื่อหรือยึดถือ”
Unlearned history (2023)
많은 분들이 “We all learn from history – 우리 모두는 역사에서 배웁니다.”라는 말을 들어보셨을 겁니다.
그러나 역사의 일부 이야기가 가르쳐지지 않고 잘못 전달된다면, 우리가 배운 것들을 어떻게 믿을 수가 있을까? 반복되는 비극의 원인은 역사를 쓰는 사람들이 의도적으로 하는 것이 아닌가? 고문은 중세시대(Middle Ages)부터 역사적 증거로 발견되었으며, 그 시대에도 다양한 사회과학, 예술, 교육이 있었음에도 불구하고 중세시대는 역사적으로 암흑기로 여겨지는데 그것은 그림이든 글씨든 증거로 나타납니다.
예를 들면 “물에 의한 시죄”, “예수(독일)처럼 두 번이나 물에 잠긴 뒤 십자가에 거꾸로 매달리신 것”, “입에 물을 채우다.”, “사람을 산채로 묻기” 등이 있습니다. 또한 중세는 인간의 발견과 변화, 인간이 옳고 그름을 배우는 것, 지성이 발견된 시대였습니다. 그래도 인간 심리의 발달은 외피의 문명을 따르지 않습니다. 인간 존엄성을 훼손한 역사가 다시는 반복되지 않도록 많은 선진국은 용기를 내어 진심으로 사과하며 교육 커리큘럼에 포함시키거나 새로운 세대를 위한 박물관을 설립하지만 아직도 이를 받아들이지 않는 나라도 있고 교육 내용에도 포함하지 않습니다.
“단 하나의 정보만 믿으면서 강박관념을 가지고 자라나서 어떤 사실을 알게 되었을 때 우리가 한때 믿거나 집착했던 것에서 배신당하는 것과 같습니다.”