//phapthaysajin.com/wp-content/uploads/2019/07/Portait-2-2.jpg
 
 

Suthep Kritsanavarin

Documentary Photographer       Thai Nationality
 

수텝 끄릿싸나와린은 방콕에서 자랐다. 방콕 대학교에서 경영학을 전공할 때 인생의 지루함을 느끼기 시작했고 자신을 찾기 위해 숲으로 들어가기 시작했다. 그는 대학교 환경동아리의 일원으로서 동아리의 방향을 잡아주었고 그의 잦은 숲 탐험은 그가 무엇을 원하는지 알려주었다. 이것이 그가 사진을 찍어 기회가 없는 사람들에게 그가 본 것을 나누는 시발점이 되었다. 다큐멘터리 사진을 찍는 것에 흥미를 갖고 여러 면에서 진실을 찾으러 국내외를 돌아다니게 되었다.

그의 작품은 세계 유명 잡지에서도 찾아볼 수 있는데 예로 타임지, 뉴욕 타임즈, 영국 Geographical, 독일 Geo, 싱가포르 The East, 파 이스턴 이코노믹 리뷰, 일본 아에라, 사피오 외에도 여러 항공사 잡지에서도 찾아볼 수 있다.  

수텝은 2년동안 쿠이족 코끼리 사육사 다큐멘터리를 만들어왔다. 그는 쿠이족과 함께 돌아다니면서 코끼리 사육을 새로이 이해하기 위해 그들과 생활하며 그들이 가는 모든 곳들을 함께했다.

메콩강 콘파펭 폭포 또는 리피 폭포의 거센 물살속에서 생활비 마련을 위해 죽음을 무릅쓰고 물고기를 잡으며 생활하는 사람들의 이야기로 라오스 남쪽에 위치한 시판돈과 관련된 작품들은 세계 각지에서 출판되고 전시되었다. 이 외에도 일본 데이즈, 미국 NPPA 또는 IPA 세계사진대회에서 상을 받았다.

현재 수텝은 Angkor Photography Festival에서 신세대 아시아 사진작가들에게 사진 찍는 법을 가르쳐주고 있으며 InSIGHT Out! 이라는 프로그램을 외국인 기자인 친구들과 함께 만들어 이를 통해 스나미로 인해 불우한 환경에 처한 아이들에게 사진 찍는 법을 가르쳐주고 있다.

สุเทพ กฤษณาวารินทร์ เติบโตในสังคมกรุงเทพๆเหมือนกับคนอีกหลายล้านคน ขณะที่เรียนอยู่สาขาการจัดการด้านธุรกิจที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก็เริ่มเกิดความเบื่อหน่ายชีวิต พร้อมกับเริ่มเข้าป่าเพื่อค้นหาตัวเอง และเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยพัฒนาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติของมหาลัยที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นให้เดินไปตามแนวทาง การที่ต้องเข้าป่าเป็นประจำโดยเฉพาะห้วยขาแข้งทำให้เขาเริ่มรู้ถึงสิ่งที่ตนเองต้องการ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาต้องบันทึกภาพในสิ่งที่ตนเองได้พบเห็นเพื่อถ่ายทอดให้กับคนทั่วไปที่ไม่มีโอกาส  เขาเริ่มหลงใหลในการถ่ายภาพสารคดีที่ต้องการสื่อถึงความเป็นจริงในหลายๆด้าน นั่นเป็นโอกาสให้เขาได้เดินทางไปในที่ต่างๆทั้งในและต่างประเทศ

ผลงานของสุเทพปรากฏในนิตยสารต่างๆทั่วโลก เช่น Time, New York Times, Geographical อังกฤษ, Geo เยอรมัน, The East สิงห์โปร, Far Eastern Economic Review, Aera ญี่ปุ่น, Sapio และหนังสือสายการบินอีกหลายฉบับ

สุเทพติดตามทำสารคดีเรื่องควาญช้างกวยเป็นเวลากว่าสองปีแล้ว เป็นเวลาสองปีที่เขาใช้ชีวิตกับคนกวยเดินทางไปทุกที่ที่พวกเขาไป แม้แต่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสร้างความเข้าใจในวิถีการเลี้ยงช้างเสียใหม่

ผลงานเกีืี่ยวกับดินแดนส่ีพันดอนตอนใต้ของลาวได้รับการตีพิมพ์ และแสดงไปทั่วโลกผ่านทางเทศกาลภาพถ่าย เช่นที่ Visa ในฝรั่งเศส รวมทั้งได้รางวัลจาก Days Japan, NPPA ของอเมริกา หรือ International Photography Awards ผลงานชิ้นนี้เป็นเรื่องราวของคนหาปลาในลุ่มน้ำโขงที่ต้องเสี่ยงตายกับกระแสน้ำอันเชี่ยวกรากของน้ำตำคอนพะเพ็ง หรือ หลี่ผีเพียงเพื่อแลกกับเงินเพียงน้อยนิด

ปัจจุบันสุเทพเป็นครูพิเศษสอนการถ่ายภาพให้กับช่างภาพรุ่นใหม่ชาวเอเชียที่ Angkor Photography Festival รวมทั้งยังช่วยสอนเด็กที่ด้อยโอกาสในโครงการ InSIGHT Out! ซึ่งเป็นโครงการที่เขาและเพื่อนๆนักข่าวต่างประเทศตั้งขึ้นมาสอนการถ่ายภาพให้กับเด็กๆที่สูญเสียจากเหตุการณ์ สึนามิ ในอาเจะห์ และ เขาหลัก รวมทั้งในสามจังหวัดจชายแดนภาคใต้

สุเทพเชื่อเสมอว่าการถ่ายภาพสารคดีที่ดีนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือภาพจะต้องถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมเพื่อผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่เพื่อรางวัลส่วนตัว

As a photojournalist Suthep Kritsanavarin has chronicled environmental, social, and humanitarian issues in Southeast Asia for nearly two decades. Suthep’s work is based on his firm belief that a photojournalist must act as a conscientious observer of society and culture: He has to contribute to social change on a local and global level.  He achieves these goals by working on a project over long durations to build deep understanding on the topic and to establish trust among the communities where he works.  As a result, Suthep captures powerful images of personal stories that propel an in-depth documentary.  By using his craft of storytelling, Suthep has successfully brought international attention to issues highlighted in his work.

Portfolio

Suthep Kritsanavarin

 

Working Experiences:

 

1992 – Present Freelance photographer and writer for Thai and international publications

2001 - 2013       Member of On Asia Image, Photo Agency and Zuma Press - USA

2013 - Present  Member of Cosmos Photo Agency, France

2006 – 2009    Photo Trainer for Angkor Photography Festival, Cambodia

2005 – 2009       Photo Director for InSIGHT-Out! Project, UNICEF and Open Society Institute

Funding. A creative workshop and exchange for youth who were affected by the

Asian tsunami and conflict situations in Banda Aceh, Indonesia and Phang-Nga,

Thailand

2007-2010       Working with NGOs and international organizations such as IUCN, TERRA,                               International River to make campaigns protecting Mekong River

2009-2011        Working on the Stateless Rohingya Project with support from Open Sosiety                                    Institute and UNHCR

2010-2012        Working with Asian Muslim Network for a campaign on Rohingya

2013-2014      Working for SEAPA (Southeast Asia Press Alliance) for a photography project on Myanmar

2015-2017       Working for NRGI (Natural Resource Governance Institute) for Myanmar mining project

2017                Working for Human Right Watch for drone project in Cambodia

                        Working on Tonle Sap and Mekong project for USAIDS

                        Working for Oxfam UK on global seafood program

Present           Working on a TV series about Marginalized people in Southeast Asia and Documentary film on Rohingya.

 

ETC                Photo trainer at Angkor Photography Festival and Judge for several international Photo Awards including National Geographic Thailand Photo Contest.

International Publications:

1995-2005       Hong Kong

Far Eastern Economic Review, Asian Business, Business traveler and Sawasdee magazines

2001                   Singapore                            The East magazine

2002                   United Kingdom                            Geographical magazine

  • S.A

CNN Traveler, New York Time and TIME magazines

San Francisco Chronicle and International Herald Tribune

2003                   Thailand                            The culture heritage of Khmer civilization book, Orchid Press Publisher

2004                   Japan Aera and SOTOKOTO magazines

THE JAPAN TIMES

2007                   Japan Kuay Arjiang struggle on the survival book, Mado-sha Publisher

                           Singapore

9 Days in the Kingdom, Thailand,  Edition Didier Millet

Geo Germany

National Geographic Thailand

2008                   Japan                           Days Japan

2011                  Aktuel, Netherlands

2014                   Voima, Finland

                           The Caravan, India

2015                   Mather Jones, USA

                           Asie, France

                           Human and Nature, China

2016-2017       National Geographic

2017-2018        Exodus Dejavu book

Exhibitions:

2000                   Foreign Correspondent club of Thailand

“The Hunter and The Monk”: The contradiction between merit and sin from traditional lives of Bird’s Nest gathers and the monks’ spirit

2001                   Boathouse Hotel, Phuket, Thailand

          “Xinjiang….Journey into the Sands of Time” The life in Xinjiang Province in

China

2004                   Konica Minolta Gallery, Japan

           “Kuay & Elephant on the survival” The Kuay people and their relation with

elephant

2006                   World Cup Soccer, Germany

          “Elephants Playing Football”

2007                   Siphandon…Mekong Fishing Under Threat, Visa pour l’Image – France

                           Angkor Photography Festival – Cambodia

2008                  Cyclone Nargis, Visa pour l’Image – France

2010                   Siphandon…Mekong Fishing Under Threat with Oxfam Australia – Canberra and

                           Melbourne

2010                   Siphandon…Mekong Fishing Under Threat – Pingyao Photography Festival, China

2011                   Stateless Rohingya…Running on Empty – Bangkok Arts and Cultural Center

2011                   Stateless Rohingya…Running on Empty – Angkor Photography Festival

2012                 Siphandon – Xixuanbanna Photo Festival, China

2013                   Stateless Rohingya …Running on Empty – Kuala Lumpur, Malaysia

2014                  Stateless Rohingya…Running on Empty – Jakarta, Indonesia

2015-16             Mekong – Suwon city, South Korea

2017                Khmer Civilization – Suwon photo festival

                        Exodus Deja-vu – Istanbul Turkey

                           Kachin war – Kuala Lumpur, Malaysia

2018                Exodus Deja-vu - Bangkok

Collections:

2005                   Kiyosato Museum, Japan

BHUTAN-LAND OF THE DRAGON, Young Portfolio Acquisitions

2006                   Kiyosato Museum, Japan

Life after Tsunami, Young Portfolio Acquisitions

Awards&Grant:

2008                   NPPA, IPA, Days Japan Photojournalism Awards, Blue Earth Alliance

                           For Siphandon…Mekong Fishing Under Threat

                           Care International Humanity Award for Cyclone Nargis

2009                  Days Japan Photojournalism Awards for Cyclone Nargis

                           HPA – Grand Awards for Documentary on Siphandon

2013                   Xixuanbanna Photography Award

2009 -2011      A grant from Open Society Foundation and Embassy of Switzerland on Rohingya Photo documentary Project

2016-2018         A grant from USAID for Tonle Sap photo program            

Television:

2009     Present in ARTE TV, France for a series of River feature Khone Falls

2012    Present in National Geographic Channel for Monster Fish Program feature Siphandon

2014    Present in ARTE TV, France for a series of Wonder of the Lake feature Tonle Sap and Mekong

2014    One of presenter on a popular program of TV Burapha, คนค้นคน 12 คนค้นโลก

2009 -2018 Give several interview to Thai Media including Thai PBS, Channel 3, Modern 9TV, Amarin TV, Bangkok Post, The Nation, แพรว สุดสัปดาห์, Image, A day, มติชน, ผู้จัดการ

Reference person:

1.Jeanne Hallacy, Documentary film producer, Former producer at AsiaWork Television -  Email: jeannemariehallacy@gmail.com Tel: +66860032316

Kraisak Choonhavan, former Thai Senator – Email  kraisakc@gmail.com     Tel: +66816448444

Premrudee Daoroung , Director of Project SEVANA South-East Asia – Email : premrudee@sevanasea.org Tel: +66814342334

Contact Address:

160/296 Chaiyapuek 2, Soi 32, 345 Road, Bangkuwat, Muang District, Pathumthani, Thailand

Tel: 662-081-9206648

Email: skritsana@gmail.com

Agency Website: https://cosmosphoto.viewbook.com/album/suthep-kritsanavarin#1

Instagram: https://www.instagram.com/suthepkritsanavarin/


시판돈 작품의 뒷면

2000년도 초반에 저는 라오스의 시판돈으로 여행을 떠날 수 있는 기회를 얻었습니다. 저도 다른 여행객들처럼 콘파펭 폭포와 리피 폭포의 아름다움을 보고싶었습니다. 하지만 이는 저도 몰랐던 저와 이곳의 주민들 그리고 장엄한 자연과의 길고 긴 인연의 시작이었습니다. 처음 콘파펭 폭포의 장엄함을 마주했을 때의 감동을 잊지 못합니다. 하지만 그 위에서 작은 몸으로 위태롭게 물고기를 잡고 있는 어부가 이곳을 더 알고 싶다고 느끼게 해주었습니다. 작은 물고기 한 마리 잡으러 늙은 어부가 거센 물살을 거스르며 돌아다니는 모습은 경이로웠습니다. 저는 용기를 내어 이 위험한 일을 시작하기위해 4년동안 자료를 조사하고 필요한 장비와 도와줄 사람은 구했습니다.

3년간 세계각지로 보낼 사진을 준비하는 동안 항사담 마을의 캄푸손씨 가족이 저의 두 번째 가족이 되어 제가 이 프로젝트를 끝낼 수 있도록 도와주었습니다. 저는 그들의 집을 시판돈 주변을 돌아다니기 위한 베이스캠프로 사용했고 이 집안의 막내아들인 통은 저의 마음을 아주 잘 아는 도우미였습니다. 해보지 않은 것들을 해야 했고 가보지 않은 곳들에 가야 했습니다. 물 한가운데 있는 물고기 덫에 가려면 배를 타거나 얇은 줄을 의지해 물을 거슬러 올라가야 했습니다. 많은 순간들 속에서 사진을 못 건질까 내 몸보다 카메라 걱정을 하기도 했습니다. 산악용 밧줄과 장비들을 준비해갔지만 현지인의 방법을 이용했습니다. 또는 전설적인 어부 삼니앙을 따라가 콘파펭 폭포에 특별한 물고기 덫을 설치한 것도 잊을 수 없는 순간이었습니다. 삼니앙은 이끼 낀 바위 위를 마치 평지 걷듯이 걸어 다녔지만 저는 거의 기어갈 정도로 느릿느릿하게 나아갔습니다. 지금 생각해봐도 제가 어떻게 했는지 모를 꿈같은 순간입니다. 때론 한 장의 사진을 얻기 위해 많은 시행착오를 겪어야 했습니다. 까마귀가 물고기 덫에서 물고기를 훔치는 사진을 찍기 위해 덫 옆에 숨었습니다. 하지만 까마귀는 보이지 않았고 덥기만 무척 더웠습니다. 그래서 다음날은 카메라를 세워 두고는 멀리서 리모콘을 누를려 했습니다. 하지만 물고기가 적었던지 아니면 카메라를 숨겨두지 않아서인지 까마귀는 다른 덫에 앉았습니다. 그래서 마지막으로 나뭇잎과 나뭇가지들로 카메라를 위장 시키고는 물고기를 덫 안에 넣어두었습니다. 그렇게 한 장을 얻었습니다. 가장 힘들게 찍은 사진은 아마 메콩대형메기 사진을 찍기 위한 하루가 제일 힘들었던 것 같습니다. 통이 메콩대형메기가 덫에 걸렸다는 전화를 주자마자 전 알 수 있었습니다. 제가 3년동안 기다려온 기회가 드디어 찾아왔다는 것 을요. 이는 생물학자가 메콩대형메기가 캄보디아 호수에서 시판돈을 지나 치앙컹에 알을 낳는다는 사실을 증명하기에 정말 중요한 단서가 될 수 있는 사진이 되었습니다. 저는 비행기, 차, 배로 하루종일 이동했고 사진을 찍었습니다. 뜻 깊은 순간이었습니다

프로젝트가 거의 완성되었을 때는 돈 사홍댐이 현실화되는 시기였습니다. 뭔가 해야 한다는 것을 알고 있었기 때문에 시판돈 사진을 매체로 인터내셔널 리버, IUCN 등 국내외 기관과 협력하기 위해 프로젝트를 만들었습니다. 저는 앞으로 메콩강이 자유롭게 흘러가는 것을 보고 싶을 뿐입니다.

 

 

수텝 끄릿싸나와린

2009년 2월 26일

 

ข้างหลังภาพ โครงการสี่พันดอน

ราวต้นปี 2000 ผมมีโอกาสได้เดินทางไปท่องเที่ยวยังดินแดนสี่พันดอนของลาว ผมก็คล้ายกับนักท่องเที่ยวทั่วไปที่อยากจะไปชมความงามของน้ำตกคอนพะเพ็ง และน้ำตกหลี่ผีที่เลื่องชื่อ ผมไม่คาดคิดในเวลาต่อมาว่าจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธุ์อันยาวนาน ทั้งกับชาวบ้านในพื้นที่ และธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่นี่  ความจริงแล้วแม้ว่าการได้เห็นน้ำตกคอนพะเพ็งอันยิ่งใหญ่จะเป็นความประทับใจที่ไม่ลืม แต่ว่าชาวประมงพื้นบ้านตัวเล็กๆที่หาปลาอยู่บนขอบเหวของน้ำตกต่างหากที่ทำให้ผมอยากค้นหามากกว่านี้  มันเหลือเชื่อที่ได้เห็นผู้เฒ่าแก่ๆคนหนึ่งปีนป่ายไปมาอย่างคล่องแคล่วโดยไม่กลัวว่าจะถูกพลังของสายน้ำกลืนไป เพียงเพื่อให้ได้ปลาชะอีตัวเล็กๆ แต่ก็นั่นแหละผมใช้เวลาอีกเกือบสี่ปีที่จะรวบรวมความกล้า การประสานงาน หาข้อมูล และเครื่องไม้เครื่องมือให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มงานที่เสี่ยงอันตรายเช่นนี้

ในระหว่างสามปีที่ผมรวบรวมภาพเพื่อเผยแพร่ไปทั่วโลก ครอบครัวคำพูทอนแห่งบ้านหางสะดำคือมิตรอันใกล้ชิดที่ทำให้งานเป็นไปอย่างราบรื่น ผมอาศัยบ้านนี้เป็นฐานเพื่อเดินทางไปทั่วคุ้งน้ำของสี่พันดอน และต๋องลูกชายคนเล็กของบ้านก็เหมือนผู้ช่วยคนรู้ใจ อะไรที่ไม่เคยทำ ไม่เคยไปก็ต้องทำ ในการที่จะไปให้ถึงหลี่กลางน้ำ หากไม่ใช้เรือก็จำเป็นต้องว่ายน้ำไปตามเชือกเส้นเล็กทวนกระแสน้ำอันเชี่ยวกราก ที่บางครั้งผมห่วงกล้องมากกว่าชีวิตตนเองเสียอีก เพราะกลัวไม่ได้ภาพ แม้ว่าจะเชือกและเครื่องมือปีนเขาแต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้ เอาแบบชาวบ้านนั่นแหละลูกทุ่งดี หรือการที่ต้องเดินตามสำเนียงคนหาปลาและทำอู่ปลาเต้นที่น้ำตกคอนพะเพ็งก็เป็นประสบการณ์ที่ไม่รู้ลืม ขณะที่สำเนียงเดินเหินเหมือนปกติบนก้อนหินที่เต็มไปด้วยตะไคร่น้ำ ผมเกือบต้องคลานไปด้วยซ้ำ เมื่อขึ้นมาแล้วยังนึกว่าฝันไปซะอีกที่ตนเองทำไปได้อย่างไร บางครั้งการให้ได้ภาพเพียงภาพเดียวก็ต้องมีการลองผิดลองถูกอยู่หลายวัน เช่นภาพกาลักปลาสร้อยจากหลี่ คราวแรกก็เอาตัวเองน้ำแหละไปพลางอยู่ในหลี่ นอกจากกาไม่ลงแล้ว ยังร้อนแทบตาย วันต่อมาจึงเอากล้องแล้วใช้วิทยุบังคับ อาศัยส่องกล้องและกดรีโมทเอา แต่เพราะปลาน้อยไป และไม่มีอะไรคลุมกล้อง กาก็ไปลงหลี่ข้างๆ สุดท้ายเราต้องเอากิ่งไม้ใบไม้มาคลุม พร้อมเอาปลาสร้อยมาวางในหลี่เป้าหมายมากขึ้นจึงได้ภาพสมใจ  ที่สุดสุดเห็นจะเป็นไปแค่วันเดียวเพียงเพื่อให้ได้ภาพปลาบึก เมื่อต๋องโทรมาว่าปลาบึกลงหลี่ ผมรู้ว่าเป็นโอกาสแห่งชีวิตที่พลาดไม่ได้เพราะรอมาสามปี และมันเป็นหลักฐานสำคัญที่นักชีววิทยายังไม่กล้ายืนยันว่าปลาบึกเดินทางไกลจากทะเลสาบเขมรผ่านสี่พันดอนไปวางไข่ที่เชียงของ ผมต้องต่อเครื่องต่อรถ และเรือเกือบวัน เพื่อเพียงถ่ายภาพไม่กี่ชั่วโมงแต่ก็คุ้มค่า

เมื่อโครงการใกล้เสร็จเป็นเวลาที่เขื่อนที่จะกั้นสะโฮ้งเป็นรูปเป็นร่าง ผมรู้ว่าต้องทำอะไรสักอย่าง จึงเขียนโครงการขึ้นมาเพื่อร่วมมือกับองค์กรต่างๆทั้ง ในประเทศ และนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นโครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ International Rivers และ  IUCN เพื่อปกป้องแม่น้ำโขงโดยใช้ภาพสี่พันดอนเป็นตัวจุดประกาย ซึ่งก็ต้องขอบคุณไว้ด้วย ผมเพียงแต่หวังว่าจะได้เห็นแม่น้ำโขงไหลอย่างอิสระต่อ

 

สุเทพ กฤษณาวารินทร์

26 กุมภาพันธ์ 2552